วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

ตลาดการเงินในประเทศไทย


ตลาดการเงินในประเทศไทย
จำแนกเป็นตลาดเงินและตลาดทุน ดังนี้
 1. ตลาดเงิน ที่สำคัญได้แก่
               1.1 ตลาดเงินกู้ยืมระหว่างธนาคาร (Interbank Money Market)
               1.2 ตลาดตั๋วเงินคลัง (Treasury Bills)
               1.3 ตลาดซื้อลดตั๋วเงิน (Commercial Bills)
               1.4 ตลาดซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาล (Repurchase Market)
               1.5 ตลาดซื้อลดเช็ค (Bill Discounted)
               1.6 ตลาดกู้ยืมเงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร (Overdrafts)
               1.7 ตลาดบัตรเงินฝาก (Negotiable Certificate of Deposit--NCD)

   2. ตลาดทุน ที่สำคัญได้แก่
               2.1 ตลาดการกู้ยืมระยะยาว เป็นการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทประกันชีวิต บรรษัทเงินทุนแห่งประเทศไทย เป็นต้น
               2.2 ตลาดหุ้น เป็นแหล่งระดมเงินทุนและเพื่อการซื้อขายแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ มี 2 ลักษณะ คือ ตลาดแรก สำหรับหลักทรัพย์ใหม่หรือการเพิ่มทุนของบริษัท และตลาดรอง ซึ่งเป็นตลาดที่อำนวยความสะดวกในการซื้อขายหลักทรัพย์โดยทั่วไปการซื้อขาย หลักทรัพย์ในตลาดรองมี 2 รูปแบบ คือ ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ (stock exchange) ซึ่งตั้งขึ้นโดยมีกฎหมายรับรองและมีสถานที่ตั้งทำการซื้อขายแน่นอน เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดเป็นตลาดทุนในระบบ (Organized Capital Market) อีกรูปแบบหนึ่ง คือ ซื้อขายกันนอกตลาดหลักทรัพย์ที่เรียกว่า Over-the Counter Security Market--OTC รูปแบบดังกล่าวนี้จัดเป็นตลาดทุนนอกระบบ



ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (The Stock Exchange of Thailand - SET)
เป็นตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยพระราบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดทำการซื้อขายขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518[3] ทำหน้าที่เป็นตลาดรองเพื่อแลกเปลี่ยนซื้อขายตราสารทุน ของบริษัทต่างๆ ที่ขึ้นทะเบียนไว้ และ เพื่อให้สามารถระดมเงินทุนเพิ่มเติมจากสาธารณะได้โดยสะดวก ปัจจุบันการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535


เวลาทำการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคือวันจันทร์ถึงวันศุกร์ มี 2 ช่วงคือ ช่วงเช้า 10.00น. - 12.30น. ช่วงบ่าย 14.30น. - 16.30น. และหยุดตามวันหยุดของทางราชการ

      ตลาด SET เป็นตลาดที่ใช้แลกเปลี่ยนตราสารที่ออกมาใหม่เป็นครั้งแรก ทุนจดทะเบียนมากกว่า 100 ล้านบาท







ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (Market for Alternative Investment - MAI)
               

                    ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (Market for Alternative Investment - MAI)เป็นตลาดหลักทรัพย์แห่งที่สองของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2542 และเปิดทำการซื้อขายวันแรกเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2544 มีจุดประสงค์การทำงานโดยทั่วไป เหมือนกับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) คือ ทำหน้าที่เป็นตลาดทุน เพื่อให้กิจการต่างๆ สามารถระดมเงินทุนเพิ่มเติมจากสาธารณะได้ แต่ตลาดใหม่นี้ จะเน้นไปที่กิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี - SME) และกิจการเกี่ยวกับนวัตกรรม โดยได้ผ่อนผันหลักเกณฑ์ต่างๆ ลง เช่น ทุนชำระแล้วขั้นต่ำของหลักทรัพย์ในตลาดหลัก คือ 200 ล้านบาท ในขณะที่ขั้นต่ำของตลาดใหม่ ลดลงเป็น 40 ล้านบาท เป็นต้น เพื่อเปิดโอกาสให้กิจการขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ ได้มีหนทางในการระดมทุน รวมทั้งสนับสนุนอุตสาหกรรมการร่วมลงทุน (venture capital) เพื่อเพิ่มจำนวนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์คนปัจจุบันคือ ชนิตร ชาญชัยณรงค์ (ตั้งแต่ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549)






ตลาดตราสารหนี้  Bond  Exchange  (BEX)

เป็นตลาดแบบ Over  the  counter  คือ  ไม่มีสถานที่และไม่ได้กำหนดเวลาซื้อขายปิดเปิดตลาดที่แน่นอน  เหมือนอย่างในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ผู้เล่นหลักคือ Dealer  ไม่ใช่ Broker  คือ  ในการซื้อขายตราสารหนี้  นักลงทุนจะติดต่อซื้อขายกับผู้ค้าตราสารหนี้(Dealer)  ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต.  สถาบันการเงินที่เป็นผู้ค้าตราสารหนี้นั้น  จะต้องเป็นสมาชิกของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย(ThaiBMA)

              รายได้ของ  Dealer มาจากส่วนต่างของราคา  มิใช่ค่านายหน้า  คือ  ในการซื้อขายตราสารหนี้  มีรายได้จากกำไรส่วนต่างระหว่างซื้อขาย(Spread)  เนื่องจากเป็นการซื้อขายระหว่างพอร์ตของสถาบันการเงินที่เป็นผู้ค้าตราสารหนี้กับของลูกค้า






ตลาดอนุพันธ์  Thailand  Futures  Exchange  (TFEX)


เป็นศูนย์กลางในการซื้อขาย Futures ที่อิงมูลค่าจากตัวเลขดัชนี SET50 นักลงทุนจะสามารถเข้ามาใช้ SET50 Index Futures เป็นช่องทางทำกำไรได้ตลอดเวลาไม่ว่าตลาดหุ้นจะเคลื่อนไหวอยู่ในแนวบวกหรือแนวลบ หรือจะใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงแก่หลักทรัพย์ที่ตนเองถืออยู่ก็ได้
      บมจ. ตลาดอนุพันธ์ฯ เป็นศูนย์กลางการซื้อขายอนุพันธ์เกี่ยวกับตราสารทุน ตราสารหนี้ และสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ ภายใต้พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยมีสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นหน่วยงานกำกับดูแล สินค้าที่สามารถจัดให้มีการซื้อขายได้ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติสัญญาซื้อ ขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คือ ฟิวเจอร์ส(Futures) ออปชั่น (Options) และออปชันบนสัญญาฟิวเจอร์ส (Options on Futures) ของสินทรัพย์อ้างอิงประเภทต่าง ๆ ได้แก่

          - อ้างอิงกับตราสารทุน ได้แก่ ดัชนีราคาหลักทรัพย์ หลักทรัพย์
          - อ้างอิงกับตราสารหนี้ ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล อัตราดอกเบี้ย
          - อ้างอิงกับราคาหรือดัชนีราคาอื่น ๆ ได้แก่ ทองคำ น้ำมันดิบ อัตราแลกเปลี่ยน
โดยหลักๆ แล้วตราสารอนุพันธ์ที่ซื้อขายกันในตลาดเงินทั่วโลก สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน ได้แก่
1. ฟิวเจอร์ส (FUTURES)    สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ซื้อขายผ่านตลาดอนุพันธ์ที่มีการจัดตั้งอย่าง
เป็นทางการ เมื่อถึงเวลาที่กำหนดผู้ซื้อและผู้ขายมีพันธะต้องซื้อขายกันตามที่ตกลงในสัญญา
2. ออปชั่น (OPTIONS)    สัญญาสิทธิ ผู้ขายมีภาระต้องปฎิบัติตามพันธะในสัญญา ในขณะที่ผู้
ซื้อมีสิทธิ จะเลือกใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้
3. ฟอร์เวิร์ด (FORWARD)    สัญญาซื้อขายล่วงหน้าคล้ายกับฟิวเจอร์ส แต่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงซื้อ
ขายกันนอกตลาดที่มีการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ
4. สวอป (SWAP)  ข้อตกลงระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป ในการแลกเปลี่ยนกระแสเงิน




ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET)

 เป็นศูนย์กลางในการซื้อขาย Futures ที่อ้างอิงมูลค่าจากราคาสินค้าเกษตรประเภทต่างๆ ได้แก่ ยางพารา ข้าว และมันสำปะหลัง ซึ่งนอกจากนักลงทุนจะเข้ามาแสวงหาผลกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าแล้ว การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้านสินค้าเกษตรในตลาด AFET ยังเป็นเพียงช่องทางเดียวที่นักลงทุนในประเทศจะสามารถลงทุนในสินทรัพย์ Commodities ได้ โดยไม่ต้องทำธุรกิจค้าขายในสินค้านั้นๆ ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจค้าขายสินค้าเกษตรก็สามารถเข้ามาใช้ Futures เป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาสินค้านั้นๆ ได้อีกด้วย


                  หน้าที่หลักของ AFET รวมถึงตลาดสินค้าล่วงหน้าที่มีอยู่ทั่วโลกว่ามีหน้าที่ ดังนี้
1. เป็นเครื่องมือในการค้นหาราคาในอนาคต (Price Discovery)
2. เป็นเครื่องมือให้ผู้ประกอบการใช้ในการบริหารความเสี่ยงด้านราคา (Hedging Tool) ซึ่งการทำหน้าที่หลักทั้งสองประการ